Search

7 ข้อ เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อการ์ดจอใหม่ ต้องดูสิ่งใดบ้าง ไม่เฟล - NBS

biasa.prelol.com

แม้ว่าการ์ดจอรุ่นใหม่ nVIDA GeForce RTX 3000 series จะเพิ่งเปิดตัวกันไป แต่ก็ทำให้ตลาดก็ดูคึกคักมากขึ้น หลังจากช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้หลายสิ่งต้องชะลอตัว ซึ่งในครั้งนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีในการเปลี่ยน กราฟิกการ์ด แต่จะเปลี่ยนทั้งที ก็ต้องเช็คกันสักหน่อย ว่าคุณพร้อมที่จะซื้อใหม่หรือยัง?

ก่อนที่จะไปหาซื้อกราฟิกการ์ดมาเปลี่ยนใหม่ นอกจากเรื่องเงินที่หลายคนต้องเตรียมเอาไว้แล้ว จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับค่าตัว ความแรง และสดใหม่ รวมถึงเทคโนโลยี ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่ควรจะต้องนำมาคิดด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับการทำงานและประสิทธิภาพในการเล่นเกมโดยตรง ไม่แน่ว่าหลังจากที่คุณซื้อกราฟิกการ์ดมาอัพเกรดใหม่ บางอย่างอาจจะไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คุณคิด และ 7 ข้อนี้ เป็นข้อพิจารณา ที่คุณอาจจะต้องเช็ค ก่อนซื้อกราฟิกการ์ดใหม่

1.คอมที่ใช้ เป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณควรต้องเช็ค โดยเฉพาะเรื่องของสเปค ค่อนข้างสำคัญ เพราะไม่ใช่ว่าคุณจะมีเงินแล้วทุ่มไปกับกราฟิกการ์ดจนหมดสิ้น เพราะสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ปัญหาซีพียูไม่สามารถรีดประสิทธิภาพของกราฟิกการ์ดได้อย่างเต็มที่ หรืออย่างที่ใครหลายคนเรียกติดปากว่า “คอขวด” นั่นเอง

การ์ดจอ

ขยายความคำว่าคอขวดสักเล็กน้อย ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราใช้ซีพียูรุ่นประหยัด เรียกว่ารุ่นล่างๆ ที่อาจมี Core/ Thread น้อย หรือความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ไม่สูงนัก แต่บังเอิญเราได้กราฟิกการ์ดรุ่นรองท็อปตัวเทพ หรือรุ่นระดับไฮเอนด์ ที่มีสเปคค่อนข้างสูง แม้ว่าปัจจุบันประสิทธิภาพในการทำงานของ GPU จะทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าซีพียูไม่สามารถประมวลผลและส่งข้อมูลต่อไปให้กับการ์ดจอเพื่อสร้างภาพได้ทัน ก็จะทำให้ภาพที่ออกมาไม่นุ่มนวล ที่เห็นได้ชัดคือ เฟรมเรตจะขึ้นๆ ลงๆ ซีพียูทำงานเต็มที่แบบ Full load แต่กราฟิกการ์ดอาจจะทำงานเพียง 60-70% เป็นต้น

และความหมายที่ต่อจากตัวอย่างของคำว่า คอขวด นี้ก็คือ กรณีที่คุณมีคอมสักเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นสเปคพื้นฐาน หรือเคยแรงในช่วง 5-6 ปีก่อน เช่น Intel Gen2 หรือ Gen4 หรือคุณเพิ่งซื้อคอมมาในงบประมาณที่อาจมีจำกัด ด้วยสเปคสำหรับการใช้งานทั่วไป ในเวลานั้นมันอาจจะตอบโจทย์การเล่นเกมของคุณได้ดีในระดับหนึ่ง แต่วันนี้มีกราฟิกการ์ดออกใหม่ และคุณมีงบประมาณมากพอ จึงเลือกกราฟิกการ์ดรุ่นที่แรงสุดๆ เช่น RTX 2080 SUPER หรือ RTX 3080 รุ่นใหม่ ซึ่งอาจจะแรงมากมายก็จริง แต่ในเมื่อคอมเครื่องเก่าของคุณ ไม่สามารถผลักดันไปให้ถึงขีดสุดได้ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ เฟรมเรตที่อาจจะไม่ได้มากอย่างที่ควรจะเป็นหรืออาการภาพที่ไม่นุ่มนวล หากดูจากกราฟในโปรแกรมทดสอบหรือบน Task Manager ก็จะเห็นว่ามันแกว่งมากเกินไปนั่นเอง

การ์ดจอ

ดังนั้นแนวทางในการเลือกการ์ดจอใหม่ อาจจะเลือกกราฟิกการ์ด ที่เหมาะสมกับระบบที่คุณใช้ ซึ่งอาจดูตามสำนักทดสอบต่างๆ ทำออกมาให้ดู และเปรียบเทียบข้อมูลตามความต้องการ อาจจะไม่ได้ตัวที่แรงที่สุด แต่ก็เหมาะกับที่คุณใช้ จ่ายน้อยกว่าสบายกระเป๋า แต่ถ้าคุณคาดว่าจะอัพเกรดคอมหรือเปลี่ยนคอมใหม่ในไม่ช้า ซื้อที่ GPU แรงๆ ไว้เลยก็ได้ ไม่มีใครว่า แต่กว่าจะถึงเวลาที่คุณอัพเกรดหรือซื้อคอมใหม่ ราคาก็อาจจะร่วงลงมาให้ช้ำใจเล่นก็เป็น

การ์ดจอ

2.พื้นที่ภายในเคส ข้อนี้แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็อาจเป็นประเด็นใหญ่ ให้คุณต้องปวดหัวได้ไม่น้อย เพราะบางท่านตอนประกอบคอมใหม่ๆ ก็อาจไม่ได้สนใจเรื่องพื้นที่ภายในเคสมากนัก อาจจะดูแค่เพียงมีไฟสวย กระจกข้างใส พัดลมใหญ่ หรือราคาไม่แพงก็ตามแต่ ทำให้พื้นที่ภายในแอดอัด จนไม่สามารถใส่กราฟิกการ์ดรุ่นใหญ่ๆ ที่บางทีอาจจะมีถึง 3 พัดลมเข้าไปได้ สิ่งที่ต้องทำก็คือ เช็คมิติความยาวของการ์ดจอที่จะซื้อ และลองวัดดูว่าสามารถใส่เข้าไปในแนวยาวของเคสได้หรือไม่ หากไม่ได้เป็นเคสที่เก่าเกินไป ก็จะสามารถวางการ์ดจอที่ยาวระดับ 30-35cm ได้ แต่เคสบางรุ่นที่มีเบย์สำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์อยู่ด้านหน้า ตามแบบที่เคสในรุ่นเก่าๆ มักจะเป็นกัน ก็อาจจะไม่สามารถใส่กราฟิกการ์ดที่ยาวเกิน 30cm ได้ ตรงจุดนี้ต้องเช็คให้ดี

การ์ดจอ

รวมไปถึงบางท่าน ก็ชื่นชอบการติดตั้งชุดน้ำ อาจจะวางปั้มน้ำ หรือเดินท่อน้ำเอาไว้จนเต็มพื้นที่ แม้ว่าจะพอขยับให้หลบหลีกได้บ้าง แต่อย่าลืมว่า พื้นที่ในการวางมือของคุณในการติดตั้งกราฟิกการ์ดขนาดใหญ่ อาจทำให้การประกอบยากขึ้น อีกทั้งสิ่งที่ต้องระวังก็คือ หากโดนท่อเหล่านี้ แล้วน้ำยาที่อยู่ภายในไม่รั่วออกมาตามรอยต่อ ที่คุณอาจเผลอไปโดนโดยไม่ตั้งใจ ก็ดีไป แต่ถ้าบังเอิญท่อหลุดหลวม แล้วน้ำยาไหลลงมาใส่การ์ดจอแล้วล่ะก็ อาจจะเสียใจหนักมาก และหากเคลมไม่ได้ ก็ต้องซื้อใหม่

3.เช็คความสามารถในการจ่ายไฟ ง่ายๆ เลยก็คือ เช็คเพาเวอร์ซัพพลายที่คุณใช้ พอต่อการจ่ายไฟให้กับกราฟิกการ์ดที่จะซื้อมาใหม่หรือไม่ เพราะแต่เดิมคุณอาจไม่ได้ซื้อ PSU ที่เผื่อสำหรับใช้งาน แต่เลือกแบบพอดีๆ กับสเปคเดิมที่ใช้ หรือจะเป็นช่างที่ร้านประกอบมาให้ โดยที่คุณเองไม่ได้ระบุ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกมาให้แบบพอดี เมื่อมาเจอกราฟิกการ์ดรุ่นใหญ่ๆ ใช้กำลังไฟสูงขึ้น สังเกตได้ง่ายจาก คอนเน็กเตอร์ ที่มีมาบนกราฟิกการ์ดแต่ละรุ่น จะเป็นเหมือนสิ่งที่บอกการใช้พลังงานของการ์ดรุ่นนั้นๆ

การ์ดจอ

โดยทั่วไป เมนบอร์ดจะสามารถจ่ายไฟให้กับการ์ดจอบนสล็อต PCI-Express x16 ได้ราว 75W ซึ่งถ้าเดิมบนการ์ดของคุณไม่ต้องต่อไฟเลี้ยงเพิ่ม ก็คือใช้ไฟเท่านั้น แต่ถ้าเมื่อใดบนการ์ดมีให้ต่อไฟ 6-pin PCI-E นั่นแสดงว่า มันจะต้องใช้กระแสไฟ 150W (เมนบอร์ด 75W+75W connector) หรือถ้าเป็นการ์ดที่มี 8-pins connector แล้ว ก็จะหมายถึง 75W (เมนบอร์ด) + 150W (เพาเวอร์) รวมแล้วคือ 225W ส่วนถ้าเป็นรุ่นที่มีทั้ง 6-pins + 8-pins แล้ว ก็บวกกันไปตามคอนเน็กเตอร์ที่มีมาให้ และก็จะพอประเมินได้ในคร่าวๆ ว่าคุณจะต้องซื้อเพาเวอร์ซัพพลายมาเปลี่ยนด้วยหรือไม่? แต่ก็ต้องเผื่อในช่วงที่ Full-load เพื่อป้องกันการจ่ายไฟที่ไม่นิ่งเรียบด้วยเช่นกัน โดยการเลือกเพาเวอร์ซัพพลาย ให้ดูในส่วนของ +12V ที่จะบอกเรื่องของ Amp และ Watts ไว้อย่างชัดเจน

และต่อเนื่องมาจากเรื่องของการจ่ายพลังงาน ก็คือ บรรดาหัวต่อ Connector ต่างๆ เช่น 6-pins หรือ 8-pins ก็ควรจะต้องเพียงพอต่อการใช้งาน เป็นไปได้คือ มีมากกว่าที่ต้องต่อบนกราฟิกการ์ด 1-2 ชุด ไม่ควรต่อคอนเน็กเตอร์ทั้งหมดบนสายเดียวกัน ตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายกราฟิกการ์ดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเสถียรภาพในการทำงาน

แต่ถ้าในกรณีที่คุณยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อเพาเวอร์ซัพพลายใหม่ จะไปที่ 1000W++ ก็ย่อมได้ ไม่ใช่เรื่องยาก เงินแก้ปัญหาได้ในข้อนี้

การ์ดจอ

4.เล่นเกมอะไร? ความจริงก็ไม่น่าถามนะข้อนี้ เพราะถ้าการ์ดจอแรงดี เกมอะไรก็เล่นได้ แต่ที่ต้องเช็คก็คือ ในกรณีที่คุณซื้อกราฟิกการ์ดใหม่ มันควรจะต้องตอบสนองต่อการเล่นของคุณได้อย่างเต็มที่ หรือดีเกินคาด อย่างเช่น เดิมคุณอาจจะเล่นเกมแนว Puzzle หรือแนว RTS วางแผน เช่น Diablo หรือ DOTA2 ก็ไม่ได้ต้องใช้พลังการประมวลผลหนักหน่วงมากมาย กราฟิกการ์ดระดับกลาง ก็พอรับมือกับเกมเหล่านี้ได้ เช่น GTX 1660 หรือ RTX 2060 ขึ้นไปเป็นต้น หรือ ถ้าต้องการให้ลื่นไหลได้ภาพสวย แนะนำว่าลองดูจอคอมดีๆ สักรุ่น ให้มีรีเฟรชเรตสูงๆ เช่น 144Hz ขึ้น แล้วเลือกให้มี FreeSync หรือ G-Sync เท่านี้ก็จะได้ภาพที่ต่อเนื่องดูสบายตายิ่งขึ้น แต่ถ้าจอเหล่านั้นแพงเกินไป ก็อาจจะเน้นไปที่จอขนาดใหญ่ เห็นเต็มตา ดูออปเจกต์ภายในเกมได้ชัดเจนขึ้น ระดับ 27″ ขึ้นไป หรือปัจจุบัน 32″ ก็เริ่มที่ประมาณ 5 พันบาทเท่านั้น

การ์ดจอ

แต่ถ้าคุณเป็นคอเกมแอ็คชั่น ประเภทเดินหน้ายิง หรือเกม AAA อย่างเช่น Farcry, GTAV หรือจะเป็น NFS แล้วต้องการเล่นเกมบนความละเอียด 1080p แต่ให้มีความลื่นไหล หรือคุณเป็นคนชอบภาพในเกมที่มีรายละเอียดชัดเจน ต้องปรับ Detail ในระดับ High หรือ Very High หรือสูงกว่านั้น การเลือกกราฟิกการ์ดตัวท็อปๆ ที่มีสเปคดี VRAM จำนวนมาก CUDA หรือ Stream processor เยอะ และแรมความเร็วสูงดูจะเหมาะกว่า เช่น RTX 2070 SUPER หรือ RTX 3070, 3080 รวมไปถึง RX 5700 series เป็นต้น เพราะเกมเหล่านี้ ใช้ทรัพยากรหนักหน่วง ดังจะเห็นได้ในหลายการทดสอบ ที่ทำเอาการ์ดจอทำงานมากกว่า 90-95% ให้เห็นเป็นประจำ การจ่ายเงินจำนวนมาก เพื่อแลกมากับความลื่นไหลที่ได้ ก็ดูคุ้มค่าไม่น้อย

การ์ดจอ

5.คุณภาพในการเล่นเกม เฟรมเรตที่เพิ่มขึ้น จะคล้ายกับข้อ 4 ด้านบน ขยายความก็คือ หากคุณต้องการภาพที่สวย และมีเฟรมเรตที่สูงด้วย รวมถึงการเล่นเกมในโหมดความละเอียดสูง เช่น Very High หรือ Ultra ก็ต้องแลกมาด้วยค่าตัวของการ์ดจอที่แรงพอสมควร เพราะเฟรมเรตที่ต้องการอาจจะต้องมากกว่า 60fps สำหรับการเล่นในโหมด 2K หรือ 4K ซึ่งต้องมากกว่าการเล่นบน Full-HD ยิ่งหากคุณมีจอความละเอียดสูง และรีเฟรชเรตสูงด้วยแล้ว การจะทำให้ภาพไหลลื่นดูเนียนตานั้น ต้องอาศัยศักยภาพของซีพียูและกราฟิกการ์ดอย่างมาก ซึ่งนั่นคงไม่ใช่แค่การใช้การ์ดจอระดับกลาง หรือการทั่วไป แต่ต้องมีพลังมากพอในการรีดเฟรมเรตออกมาให้สอดคล้องกับจอที่มีสเปคสูงด้วยเช่นกัน รวมถึงการสนับสนุน G-Sync หรือ FreeSync อีกด้วย

การ์ดจอ

6.สเปคที่ต้องแรงขึ้นกว่าเดิม ข้อนี้ยังไงก็เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงในการอัพเกรดได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญคือ การเช็คสเปคให้แม่นยำ และพอประเมินจากตัวเลขบนข้อมูลได้ เพราะว่าการ์ดจอต่างยุคสมัย ต่างรุ่นและเวอร์ชั่น บางครั้งตัวเลขบางอย่างเท่ากัน แต่บางอย่างไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกราฟิกการ์ดที่เป็นอดีตเทพ ก็มักจะมีตัวเลขในสเปคที่มาก แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป กราฟิกการ์ดรุ่นใหม่เข้ามา ในการ์ดระดับกลาง อาจมีตัวเลขบางอย่างที่มากกว่าอดีตเทพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะแรงกว่าเสมอไป ดังเช่นในตารางที่ทำเป็นตัวอย่างมานี้ หากคุณตัดสินใจผิด แทนที่จะเสียเงินรอบเดียว ต้องไปซื้อการ์ดใหม่ เพราะลองเล่นแล้วกลับไม่ต่างไปจากการ์ดตัวเก่า ส่วนสิ่งต้องดูจะมีอะไรบ้าง เช่น CUDA core, Stream processor, VRAM, Interface รวมไปถึงความเร็วของ GPU และ Memory เป็นต้น

Model CUDA Memory Interface Mem speed Base clock
GeForce GTX 980 Ti 2,816 GDDR5 6GB 384-bit 7Gbps 1,000MHz
GeForce GTX 1650 SUPER 1,408 GDDR6 4GB 128-bit 12Gbps 1,530MHz
GeForce GTX 1660 Ti 1,536 GDDR6 6GB 192-bit 12Gbps 1,500MHz
GeForce GTX 1080 Ti 3,584 GDDR5x 11GB 352-bit 11Gbps 1,480MHz
GeForce GTX 1660 SUPER 1,408 GDDR6 6GB 192-bit 14Gbps 1,530MHz
GeForce RTX 2070 SUPER 2,560 GDDR6 8GB 256-bit 14Gbps 1,605MHz
GeForce RTX 3080 8,704 GDDR6x 10GB 320-bit 19Gbps

7.ค่าใช้จ่าย ข้อนี้อยู่ที่ความพึงพอใจของแต่ละบุคคล หลังจากที่ผ่านข้ออื่นๆ มาแล้ว เรื่องของงบประมาณก็น่าจะเป็นสิ่งสุดท้าย ที่จะนำมาใช้ในการตัดสิน ซึ่งหากคุณไม่ได้เดือดร้อนหรือเตรียมเก็บเงินไว้อยู่แล้ว จะเลือก RTX 3090 หรือ RTX 3080 ที่กำลังจะวางจำหน่ายอีกไม่นานนี้เลยก็ได้ เพราะถ้าดูจากประสิทธิภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่เล่นเกมระดับ 8K การเล่นเกมที่มีอยู่ในเวลานี้ ก็น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย แต่จะมีเพียงสิ่งที่ได้เกริ่นไว้ในบางข้อก็คือ หากคอมที่คุณมียังไม่พร้อม เช่น เพาเวอร์ซัพพลายตัวเก่า อาจจะจ่ายไฟไม่พอ หรือเคสที่ใช้อยู่เล็กไป ต้องซื้อใหม่ หรือจะต้องปรับเปลี่ยนสิ่งใด ก็อาจจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนั้นๆ เอาไว้ด้วย เพราะลำพังตัวกราฟิกการ์ดเอง ก็ไม่อาจจะสร้างเฟรมเรตได้ทะลุทะลวงลื่นไหลได้ด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยเช่นกัน

Let's block ads! (Why?)



เทคโนโลยี - ข้อมูลล่าสุด - Google News
September 03, 2020 at 10:09AM
https://ift.tt/2QQIdw8

7 ข้อ เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อการ์ดจอใหม่ ต้องดูสิ่งใดบ้าง ไม่เฟล - NBS
เทคโนโลยี - ข้อมูลล่าสุด - Google News
https://ift.tt/2wMiz5r
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update


Bagikan Berita Ini

0 Response to "7 ข้อ เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อการ์ดจอใหม่ ต้องดูสิ่งใดบ้าง ไม่เฟล - NBS"

Post a Comment

Powered by Blogger.