ถ้าเอ่ยชื่อสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งกือ เชื่อว่าหลายหลายคนคงจะขนลุก กลัว หรือน่าขยะแขยง แต่ถ้าใครได้เห็นตัวจริงหรือภาพถ่ายของเจ้า “กิ้งกือมังกรสีชมพู” อาจจะเปลี่ยนใจ เพราะมีสีสันสดใสสวยงาม และยังเป็นสัตว์สุดพิเศษ มีหนึ่งเดียวในโลก และพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ที่ “หุบป่าตาด” เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
สำหรับหุบป่าตาด ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ จ.อุทัยธานี มีลักษณะเป็นป่าโบราณดึกดำบรรพ์ที่ อุดมไปด้วย “ต้นตาด” หรือ “ต้นต๋าว” พืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้าง หนาทึบ ขึ้นในพื้นที่ป่าดงดิบที่มีอากาศเย็นชื้น ช่วงกลางหุบมีเวิ้งถ้ำเป็นช่องประตูขนาดใหญ่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ มีพื้นที่ให้เดินท่องธรรมชาติไป-กลับ รวมประมาณ 700 เมตร ระหว่างทางเดินเข้าไปชมด้านในยังต้องเดินผ่านถ้ำมืดๆ ท่ามกลางป่าเขียวชอุ่มชุ่มชื้น ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของป่าแห่งนี้ ทำให้มีสัตว์หลากหลายชนิดอยู่อาศัย โดยเฉพาะ กิ้งกือมังกรสีชมพู ซึ่งสามารถพบได้เฉพาะที่หุบป่าตาดแห่งนี้ที่เดียวในโลก
นายสุชาติ หิรัญ พนักงานพิทักษ์ป่า ในฐานะหัวหน้าศูนย์ดูแลนักท่องเที่ยวหุบป่าตาด เผยว่า กิ้งกือมังกรสีชมพู ถูกค้นพบ เมื่อปี 2550 พบครั้งแรกที่หุบป่าตาดแห่งนี้ และมีที่เดียวในประเทศไทย เพียงแห่งเดียวในโลก มีการจัดอันดับโดยผู้เชี่ยวชาญมือหนึ่งของโลก แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก คือท่าน เฮนริก อิงฮอฟ ซึ่งได้มีการจัดอันดับสุดยอดของการค้นพบ สุดยอดของสิ่งที่มีชีวิต หรือ ฟอสซิล ไว้ 10 อันดับด้วยกันทั่วโลก โดยกิ้งกือมังกรสีชมพูของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากปลากระเบนไฟฟ้า พบที่ประเทศแอฟริกา อันดับ1 ส่วนอันดับ 2 ก็เป็นซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ปากเป็ด อายุ 75 ล้านปี พบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
เหตุที่ได้ชื่อว่า “กิ้งกือมังกรสีชมพู” เพราะอยู่ในวงกิ้งกือมังกร หรือ พาราดอก โซโซมาติดี และมีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิ้งพิงค์ และมีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนามคล้ายมังกร พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงและอุดมสมบูรณ์ เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เช็นติเมตร มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถปล่อยสารประเภทไซยาไนต์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูธรรมชาติจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู เป็นต้น
ใครที่อยากจะเห็นตัวจริงของกิ้งกือมังกรสีชมพู สามารถมาชมได้ที่หุบป่าตาดแห่งนี้ ระหว่างทางเดินลองสังเกตดูข้างทาง ตามพื้น หรือใต้ต้นไม้ อาจจะมองเห็นกิ้งกือสีชมพูตัวเล็กๆ อยู่ด้วย หรือตามแอ่งน้ำข้างทางเดิน อาจจะเห็นก้อนสีชมพูเล็กๆ ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ นั่นก็คือตัวอ่อนของกิ้งกือมังกรสีชมพู โดยกิ้งกือมังกรสีชมพูนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ของทุกปี
ส่วนที่มีชื่อเรียกว่ากิ้งกือมังกรสีชมพู สืบเนื่องจากมีลักษณะพิเศษคือสองฝั่งบนด้านหลังของเจ้าสัตว์ตัวนี้ มีเขาลักษณะคล้ายมังกร ซึ่งฝรั่งหรือชาวต่างประเทศ จะเรียกเจ้าตัวนี้ว่ามังกร แต่มีสีสันที่สดใสด้วยสีชมพู จึงเรียกว่า ดรากอนพิงค์ แต่คนไทยบอกว่าเจ้าตัวนี้พบแห่งเดียวในโลกคือที่ประเทศไทย และประเทศไทยเรียกเจ้าสัตว์ประเภทที่มีลักษณะแบบนี้ว่า กิ้งกือ จึงเติมคำว่ากิ้งกือมังกรสีชมพูเข้าไปอีกพยางค์หนึ่ง จึงเป็นชื่อ กิ้งกือมังกร โดยตัวเต็มวัยจะมีความยาว 5-7 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ซึ่งจะวางไข่ช่วงปลายเดือน พ.ย. จากนั้นพ่อแม่พันธุ์ก็จะตาย ส่วนลูกจะฟักเป็นตัวอีกทีก็ช่วงต้นเดือน ส.ค. ในปีถัดไป
นายสุชาติ เผยอีกว่า ช่วงที่นักท่องเที่ยวสามารถเห็นกิ้งกือมังกรได้จะมีระยะ 4 เดือน คือตั้งแต่เดือน ส.ค. – ปลายเดือน พ.ย. ของทุกปี หรือเป็นช่วงหน้าฝนของบ้านเรา อย่างไรก็ตามแม้ดูสีสันจะเป็นสีชมพูสวยสดงดงามก็ไม่ควรไปจับหรือสัมผัส เพราะเจ้าตัวนี้เขาจะมีสารไซยาไนต์อ่อนๆ อย่าไปจับอย่าไปสัมผัส เนื่องจากเขาจะปล่อยออกมาตามข้างลำตัว เป็นน้ำใสๆขาวๆ เพื่อป้องกันตัวจากแมลงหรือสัตว์อื่นที่จะมากินเขา ถ้าเราไปโดน จะทำให้เกิดอาการคัน หรือระคายเคือง ต้องล้างมือ หรือถ้าเกิดไปโดนผิวหนังที่บอบบาง สารพวกนี้จะทำให้เกิดอาการคัน หรือเกิดผื่นได้ แต่ก็ไม่อันตรายมาก ไม่ถึงชีวิต
สำหรับใครที่อยากจะเห็นตัวจริงของกิ้งกือมังกรสีชมพู สามารถมาชมได้ที่หุบป่าตาดแห่งนี้ ระหว่างทางเดินต้องสังเกตดูข้างทาง ตามพื้น หรือใต้ต้นไม้ โคนต้นไม้ หลืบหิน อาจจะมองเห็นกิ้งกือมังกรสีชมพูตัวเล็กๆ อาศัยหรือเดินอยู่ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือคนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพไม่ควรพลาด
"พิเศษ" - Google News
September 18, 2020 at 04:26PM
https://ift.tt/3cca1VK
กิ้งกือมังกรสีชมพู สัตว์พิเศษหนึ่งเดียวในโลก - ช่อง 7
"พิเศษ" - Google News
https://ift.tt/2SQyCqt
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dm7zLA
Bagikan Berita Ini
0 Response to "กิ้งกือมังกรสีชมพู สัตว์พิเศษหนึ่งเดียวในโลก - ช่อง 7"
Post a Comment