วันที่ 24 มิถุนายน 2563 ในวงสัมมนาวิชการ เรื่อง 88 ปี 2475 มี 2 นักวิชาการที่เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 กับราษฎร สามัญชน
รำลึกถึง วันนี้เมื่อ 88 ปี เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย
ที่มีคณะนายทหารบก – เรือ ข้าราชการ พลเรือนกว่า 100 ชีวิต ร่วมขบวนการเปลี่ยนแปลงในย่ำรุ่งวันนั้น
แต่คำถาม – ข้อสงสัยใหญ่ ที่ไล่หลังการอภิวัฒน์การปกครอง 2475 ราษฎร สามัญชนตาดำๆ อยู่ตรงจุดไหนของการเปลี่ยนแปลงในวันนั้น
ทว่า การรำลึก 24 มิถุนายนในอีก 88 ปีต่อมา ในพุทธศักราช 2563 กลายเป็นการรำลึกที่จัดกิจกรรมมากที่สุดในรอบหลายปี
“ประจักษ์ ก้องกีรติ” นักวิชาการรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มองว่า การรำลึกเหตุการณ์ 24 มิถุนายน ปีนี้ คึกคักมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เกิดอะไรขึ้นถึงคึกคักมากเป็นพิเศษ และคนที่ออกมารำลึกเป็นคนธรรมดา ไม่ใช่นักการเมือง สามัญชน
ในวงสัมมนาวิชาการ 88 ปี 2475 ในปีนี้ มี 2 นักวิชาการที่เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 กับราษฎร สามัญชน
คนแรก “สราวุธ วิสาพรม” วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม มองว่า เรามีความตื่นตัวมากที่สุดหลังรัฐประหาร 2557 กระแสของคนรุ่นใหม่ที่ตั้งคำถามกับปัจจุบันและย้อนกลับไปสู่จุเดเริ่มต้น 88 89 ปี กระแสก็ยังไม่ตกไป และการรำลึก 24 มิ.ย.ขยายกว้างขึ้น เพราะคนจัดงานทั้งสัปดาห์ “วัฒนธรรมป๊อบ” หลายจังหวัด มหาสารคาม อุบล ขอนแก่น กลุ่มคนรุ่นใหม่จัดกันเอง มีการตื่นตัวในหลายจังหวัด วันนี้ จะเป็นวันชาติอีกครั้ง เพราะ 24 มิ.ย.เป็นวันชาติของเรามาก่อน แต่ถูกยกเลิก
อีกคน “ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์” นักวิชาการรัฐศาสตร์ ม.รังสิต มองว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 57 สิ่งแรกที่ฝ่ายรัฐประหารทำคือนำรั้วไปล้อมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตอนนี้ปรับปรุงชั่วคราวตอนนี้ปรับปรุงมา 6 ปี ฝ่ายรัฐประหารเป็นพวกจุดประเด็นเองต่างหาก อะไรคือต้นแบบฝ่ายรัฐประหาร ต้นแบบคือ จอมพลผิน – เผ่า ปี 2590 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500 คือต้นแบบของพวกเขา ดังนั้น ประชาชนเริ่มมองในด้านกลับกัน ต้นแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ 2475 เพราะต้นแบบของจอพลผิน-เผ่า ประชาธิปไตยแบบไทย ซึ่งหมายถึง เผด็จการสากล จึงเป็นคู่ต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ของเราในวันนี้
“สิ่งหนึ่งที่เราเห็น คนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ในระบบความเชื่อเดิมอีกต่อไป หยุดให้อยู่ทุกอย่างในแบบเดิมเป็นไปไม่ได้หรอก”
สามัญชนร่วมขบวน 2475
แต่ถ้าย้อนไป 88 ปีที่แล้ว สามัญชนก็ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
มีบันทึกหนึ่ง นำมากล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าบ่อยครั้ง ในความทรงจำพระยาทรงสุรเดช เป็นเรื่องของคนหยิบมือเดียว ถ้ามีเจ๊กมายืนขายก๋วยเตี๋ยวอาจมีคนเยอะขึ้นกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นการประเมินว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนมากนัก ขณะที่อาจารย์ป่วย อึ๊งภากรณ์ บอกว่ายังไม่มีส่วนร่วมกับการปฏิวัติ 2475 มากนัก เพราะยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยม
แต่ในระดับสามัญชน อย่าง “นายอนุ นามสนธิ” ซึ่งอยู่ที่ร้านผสมยาที่ตนทำงานอยู่ร้านประเสริฐโอสถ พอรู้ข่าวปุ๊บก็วิ่งไปทันที เข้าไปแจกจ่ายคำแถลงของคณะราษฎร มีส่วนร่วมในถนนราชดำเนิน นอกจากนี้ยังเห็นคนในต่างจังหวัด เช่น คำบอกเล่าของ “สวัสดิ์ คำประกอบ” ส.ส.นครสวรรค์ (บิดาของ วีรกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พลังปกระชารัฐ) พูดว่า การปฏิวัติครั้งนั้นมีคนมาร่วมเหยียบหมื่นคน มีคนมาร่วมน่าตื่นเต้น
นอกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 มิ.ย.ยังมีการสื่อสารผ่านวิทยุหนังสือพิมพ์ มีการประกาศหลัง 24 มิ.ย. ที่ จ.เชียงใหม่ มีการส่งข้าหลวงไปประกาศต่อบรรดาเจ้านายและสามัญชน มีการตอบรับจากประชาชนเขียนจดหมายถึงรัฐบาลและคณะราษฎร มีการบริจาคสิ่งของสนับสนุนการทำงานของคณะราษฎร
เบียร์ประชาธิปไตย – วิสกี้รัฐธรรมนูญ
“รวมถึงการใช้ชีวิตของราษฎร แม้ไม่สลักสำคัญแต่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มีการฉลองรัฐธรรมนูญ สิ่งก่อสร้างในจังหวัดต่างๆ สะท้อนความสำคัญระบอบใหม่ ทั้ง กทม. อีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ สัญลักษณ์การปกครองส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลเกิดขึ้น หลายแห่งนำสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ ระบอบใหม่นำไปใช้โดยรัฐบาลไม่ได้บังคับว่าจะต้องใช้สัญลักษณ์อิงกับระบอบใหม่เท่านั้น สะท้อนว่าประชาชนในท้องที่มีอารมณ์ร่วม ทั้งภาคใต้ ภาคกลาง ภาคอีสาน นำไปใช้จนถึงทุกวันนี้ รวมถึงในศาสนสถานการสร้างสัญลักษณ์รัฐธรรมนูญ ก็ริเริ่มมาจากตัวประชาชน มีการเรี่ยไรเงินสร้าง นอกจากนี้ ยังมีเบียร์ประชาธิปไตย วิสกี้สมัยรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นในยุคนั้น สะท้อนให้เห็นว่าคนมีอารมณ์ร่วมกับระบอบใหม่”
ชาวบ้านบริจาคซื้อเครื่องบินรบ
ขณะที่การเคลื่อนไหวของประชาชนและการมีส่วนร่วมหลัง 2475 มีการเลือกตั้ง มีท้องถิ่น สภาจังหวัดเข้ามาควบคุมการบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้ ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช ขบวนการเสรีไทย การเรียกร้องดินแดนคืน ก็จะเห็นว่าประชาชนสามัญมีส่วนร่วมทุกเหตุการณ์
การเรียกร้องดินแดนคืน 2483 เป็นผลสืบเนื่องจากการ 2475 เช่นกัน ราษฎรในจังหวัดอุบลราชธานี รวบรวมเงินให้รัฐบาลไปซื้อเครื่องบิน 3 ลำ ในจังหวัดนครพนม นำเงินอาหารกลางวันสมทบซื้อปืนกล คนทั่วไปรักบ้านเมืองเหมือนกัน การปฏิวัติ 2475 ทำให้เกิดสังคมสมัยใหม่ หลัก 6 ประการ รัฐบาลในยุคแรกนำมาปฏิบัติมาแถลงนโยบายต่อรัฐสภา จะต้องกล่าวถึงหลัก 6 ประการ การศึกษาในปี 2478 จัดตั้งโรงเรียนครบทุกตำบล มีการศึกษาที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เลิกภาษีลดปัญหาปากท้อง
ในปี 2481 มีการยกเลิกการเก็บภาษีโดยตรง แบบสังคมศักดินา ในช่วงเวลานั้นมีประชากร 7 ล้านคน ภาษีที่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เก็บมา ทั้งภาษีที่ดิน หรือเงินรัชชูปการ ส่งผลกระทบต่อประชาชนวงกว้างมาก อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 80 ชายไทย 3 ล้านกว่าคน ต้องจ่ายเงินรายปี 4-6 บาท สร้างความเดือดร้อน เป็นจำนวนมาก เมื่อคณะราษฎรเข้ามาปฏิวัติ เข้ามางดและยกเลิกผ่านสภานิติบัญญัติเก็บภาษีลดลงและยกเลิกหลายกรณี ช่วยเรื่องปากท้อง เพราะเงิน 4-6 บาท ขณะนั้นซื้อโคได้ 2 ตัว
ขณะที่ “ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์” กล่าวถึงบทบาท “สามัญชน” ในเหตุการณ์ทั้งก่อน – หลังปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ว่า หลัง 2475 ปฏิวัติศาสตร์สามัญชน 2490 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบเรียนประวัติศาสตร์ แบบเรียนสังคมศึกษา วิชาพุทธศาสนาเพิ่งบรรจุอยุ่ในหลักสูตร สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อใช้พระพุทธศาสนาในการป้องกันคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ระบอบเผด็จการในสังคมไทยที่พัฒนามาตั้งแต่ 2490 จะฉีกเข้าไปโลกศาสนจักร โลกความไม่เชื่อมั่นตัวเองของประชาชน แต่ถ้ากลับไปก่อนหน้านี้การปฏิวัติ 2475 สิ่งหนึ่งที่คณะราษฎรแคร์มากๆ แม้เลือกเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน สิ่งหนึ่งเผชิญหน้าการต่อสู้ระบอบเก่าเพื่อชิงพื้นที่คืน คณะราษฎรมุ่งหวังมีเวลามากพอที่จะสื่อสารทางการเมืองไปยังประชาชน
การสื่อสารทางการเมืองของคณะราษฎร อย่างแรกที่ใช้ เครื่องมือการสื่อสารคือหนังสือพิมพ์ และวิทยุที่เพิ่งก่อตั้งไม่กี่ปี มีรัศมีราว 200 กิโลเมตร จาก กทม. เงื่อนไขการสื่อสารการปฏิวัติคือต้องอ่านประกาศคณะราษฎร นอกจาก ยึดกรมทหารอย่างฉับพลันคือ โรงพิมพ์ประกาศของคณะปฏิวัติ ซึ่งอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้สร้างไว้ในนามโรงพิมพ์นิติสาส์น
โรงพิมพ์ได้พิมพ์ตำรากฎหมาย แต่ฉับพลันวันปฏิวัติเป็นโรงพิมพ์ที่พิมพ์ประกาศคณะปฏิวัติ เพราะตัวเรียงพิมพ์ได้เตรียมการไว้แล้วแค่พิมพ์ในเช้าวันนั้น และทหารต้องขึ้นรถไปแจกประกาศ พร้อมกับอ่านประกาศให้ประชาชนฟัง เพราะคนจำนวนมากอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จะพบว่าทหารของคณะราษฎรถือประกาศของคณะราษฎรไปอ่านให้ประชาชน พระ ฟัง อ่านกันอยู่ทั้งวัน ต่อมาตอนกลางคืน คณะราษฎรก็อ่านประกาศอีกครั้งหนึ่งทางวิทยุ ซึ่งมีเครื่องรับจำนวนไม่มากส่วนใหญ่เป็นสถานที่ราชการ พ่อค้า เจ้านายที่จะมีวิทยุ ดังนั้น การสื่อสารทางการเมืองของคณะราษฎรมีข้อจำกัดอย่างมาก กว่าจะถึงเชียงใหม่ใช้เวลา 2 วันต่อมา แล้วคณะราษฎรก็จะส่งตัวแทนไปยังสถาบัน โรงเรียนต่างๆ ไปปาฐกถาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ชนชั้นนำหวั่นพลังสามัญชน
แต่ในด้านกลับกันราษฎรมีความต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รัชกาลที่ 7 ทรงเขียนบทความ Problem of Siam กับ Democracy in Siam พระองค์ทรงตั้งคำถาม ราษฎรยังจงรักภักดีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จริงหรือ? ซึ่งพระองค์ทรงตั้งคำถามก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 5 ปี แสดงว่าในความคิดลึกๆ ว่าราษฎรไทยจงรักภักดีต่อการปกครองแบบเดิม ขณะที่ชนชั้นนำหวั่นไหวและตั้งคำถาม ไม่เช่นนั้น ข่าวลือการยึดอำนาจเปิดสะพานพุทธ 6 เมษายน 2475 จะเปลี่ยนโฉมหน้าการรักษาความปลอดภัยขององค์พระประมุขไปหมด เพราะทหาร ตำรวจ ที่เคยยืนหันหน้าให้องค์ประมุขเวลาเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทำความเคารพ กลับหันหน้าออกหาประชาชนเพื่อรักษาความปลอดภัย
“จึงเป็นคำถามใหญ่ในทศวรรษ สองทศวรรษ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะในตอนต้นรัชกาลที่ 6 เกิดกบฏ ร.ศ.130 จึงเป็นคำถามใหญ่ที่สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงอภิปรายเรื่องนี้ และประเด็นนี้นำไปสู่การตัดสินพระทัยในเที่ยงคืนของวันที่ 24 มิ.ย.ยอมไม่สู้ดีกว่า ยอมเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ”
อีกประเด็นหนึ่งที่รัชกาลที่ 7 ทรงบันทึกไว้ว่า ประเทศสยามจะมีวันหนึ่งวันใดไหมที่ประเทศนี้จะต้องเล่นเกมประชาธิปไตย ถ้าแบ่งให้ประชาชนแสดงว่าระบอบนั้นยังรักษาอำนาจไว้ได้ แต่ถ้าประชาชนเอาไปทั้งหมดระบอบเก่าต้องสูญเสียอำนาจไป ทั้งสองโจทย์เป็นโจทย์สำคัญที่ พลังของสามัญชนสั่นคลอนความเชื่อมั่นและความศรัทธาระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของพวกเขาเอง แล้ววันหนึ่งก็ลุกขึ้นมาจริงๆ
คณะราษฎร ไฟเขียว “กรรมกร” ประท้วง
ก่อน 2475 มีการต่อสู้ของสามัญชนตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ราษฎรจะสามารถแสดงออกเกี่ยวกับเรื่องของตนเองได้ คือ ทูลเกล้าถวายฎีกา แต่บังเอิญว่าไปศึกษาเรื่องการประท้วงของกรรมการหลัง 2475 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีความพยายามต่อรองเรื่องค่าแรงของ “กรรมกรรถราง” ซึ่งได้ค่าแรง 75 สตางค์ ไม่ได้สวัสดิการ จึงมีการประท้วงระบบการขนส่งของกรุงเทพหยุด
และเพียงการปฏิวัติหลัง 2475 เพียงแค่เดือนกว่า ในเดือนสิงหาคม “กรรมการรถเจ๊ก” ประท้วงทั้งกรุงเทพ รถลาก 3 พันคันรวมตัวที่วังหน้าวังปรารุสกวัณ ระบบการคมนาคมของกรุงเทพชะงักงัน ทั้งที่ ก่อน 2475 ประท้วงไม่ได้ เพราะจะมีตำรวจทำการสลายมวลชน แต่หลัง 2475 คณะราษฎรบอกว่าเป็นสิทธิชอบธรรมในการต่อรองค่าแรง
อีกไม่กี่เดือนต่อมากรรมกรแบกหามขนข้าวขึ้นโรงสีใน กทม.รวมตัวประท้วง เพราะได้ค่าแรง 75 สตางค์ แต่หลังเศรษฐกิจตกต่ำ โรงสีลดค่าแรงเหลือ 60 สตางค์ กรรมการโรงสีทั้งเจ๊ก ไทย แขก ประมาณ 2-3 พันคน ประท้วงทั้งหมดใน กทม. สุดท้ายโรงสียอม เพราะคณะราษฎรบอกว่าเป็นสิทธิในการต่อสู้ ซึ่งคณะราษฎรมาพร้อมกับสิทธิการต่อสู้ของประชาชน
แต่ช่วงก่อน 2475 นั้น ในปี 2470 มีการประท้วง พ่อค้าจีน นักเรียนจีนหยุดเรียน แต่มี 2 เหตุการณ์ในการประท้วงของชาวบ้านไทย แสดงว่า เราไม่มีสายตามองสามัญชนจึงไม่เห็นการเคลื่อนไหวของสามัญชนในการเคลื่อนไหวในหน้าประวัติศาสตร์ ชาวบ้านไปชุมนุมประท้วงที่หน้าอำเภอไปจ่าย ค่าการศึกษาพรี 3 บาท ซึ่งเป็นการช่วยจ้างครู และการชุมนุมต่อต้านการจัดการบริหารน้ำของนายอำเภอย่านตลิ่งชัน สุดท้ายเป็นข่าวนำไปสู่การแก้ปัญหา
ก่อนการปฏิวัติ 2475 มีการเคลื่อนไหวของสามัญชน หลังการปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรบอกว่าทุกการเคลื่อนไหวเป็นสิทธิอันชอบธรรม
"สามัญ" - Google News
June 24, 2020 at 04:43PM
https://ift.tt/2NvW5Kl
รำลึก 24 มิถุนายน 2475 บทบาท "สามัญชน" ร่วมอภิวัฒน์ - ประชาชาติธุรกิจ
"สามัญ" - Google News
https://ift.tt/3fKFLCA
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3dm7zLA
Bagikan Berita Ini
0 Response to "รำลึก 24 มิถุนายน 2475 บทบาท "สามัญชน" ร่วมอภิวัฒน์ - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment